หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555

วิชา ธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ

วิชา  ธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ
                                รหัส 2001 - 0007
                    
 
จุดประสงค์รายวิชา 
      1.  ปลูกฝังแนวคิดการเป็นผู้ประกอบการที่ดี
2.  สามารถกำหนดเป้าหมาย และรู้หลักการจัดทำแผนธุรกิจ
      3.  มีเจตคติที่ดีต่อธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ

มาตรฐานรายวิชา
1.  เข้าใจหลักการของการเป็นผู้ประกอบการที่ดี
2.  เข้าใจหลักการจัดทำแผนธุรกิจ
3.  ประเมินผลความเหมาะสมของแผนธุรกิจ
4.  เข้าใจหลักการของระบบเศรษฐกิจตลาด
5.  เข้าใจบทบาทหน้าที่ขององค์กรธุรกิจและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง


คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการเป็นผู้ประกอบการที่ดี จัดทำแผนธุรกิจที่มีประสิทธิ
ภาพและนำปรัชญาการดำเนินธุรกิจที่เหมาะสมไปประยุกต์ใช้กับสังคมและ
ชุมชนได้ตลอดจนบทบาทหน้าที่ขององค์กรธุรกิจ ภาษีธุรกิจและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
 
สมรรถนะรายวิชา              1. เขียนแผนธุรกิจโดยใช๎หลักการทางธุรกิจ
              2. คำนวณภาษีที่เกี่ยวข๎องกับธุรกิจได๎
              3. ประยุกต์ใช๎ความรู๎ตำงๆทางธุรกิจและนำไปประกอบธุรกิจเบื้องต้
นไ
2. รูปแบบและลกษณะของการประกอบธรกจ
2.1 รูปแบบของการประกอบธุรกิจ2.2 ลักษณะของการประกอบธุรกิจ สาระสําคัญการประกอบธรุกจในปัจจุบันสามารถดำเนินการได้หลายลักษณะ ได๎แก่
ลักษณะในการดำเนินธุรกิจ สามารถจําแนกเป็นธรกิจการผลิต การจัดจําหน่ย และการ ให้บริการ หรือการจําแนกตาม ลักษณะความเป็นเจ้าของ สามารถจําแนกเป็น ธุรกิจที่เป็นการประกอบการโดยคนคนเดียว การประกอบการในลักษณะห้างหุ้นส่วน บริษัท สหกรณ์ รัฐวิสาหกิจ และการประกอบการธุรกิจในลักษณะแฟรนไชส์ หรือการจำแนกตามขนาด สามารถจําแนกเป็น ธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดกลางและขนาดใหญ่ ซึ่งการประกอบการธุรกิจแต่ละประเภทมีลักษณะในการ ดําเนินการในการจัดตั้งแตกต่างกัน และกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องไม่เท่ากัน เช่น การประกอบการ ธุรกิจแบบเจ้าของคนเดียว การจัดตั้งสามารถทําได้ง่าย มีกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องน้อยมาก หรือการ ประการด้านการผลิตกับการจัดจําหน่ายกฎหมายที่เข้ามาเกี่ยวข้องก็แตกต่างกัน เป็นต้น การที่ ผู้ประกอบการจะเลือกดําเนินธุรกิจประเภทใด แบบใดนั้น จะต้องพิจารณาถึงความรู้ ความสามารถ และความพร้อมของผู้ประกอบการแต่ละราย แต่ที่สําคัญต้องสอดคล้องหรือสามารถตอบสนองความ ต้องการของตลาดได้3. แนวคิดการเป็นผู้ประกอบการ3.1 ความหมายของการเป็นผู้ประกอบการ3.2 คุณสมบัติของผู้ประกอบการที่ดี3.3 จรรยาบรรณของการเป็นผู้ประกอบการ สาระสําคัญให๎ผู้เรียนมีความเข้าใจเรื่อง ความหมายของการประกอบการ คุณสมบัติและ จรรยาบรรณของผู้ประกอบการ
การประกอบการธุรกิจไม่สามารถเกิดขึ้นได๎หากไม่มีผู้ประกอบการ การประกอบการธุรกิจในระยะแรกเป็นเพียงการแลกเปลี่ยน เพื่อชดเชยความขาดของแต่ละบุคคล ประกอบกับความแตกต่างในความรู้ ความสามารถของแต่ละคน ทําให้การประกอบอาชีพแตกต่างกัน ออกไป ผู้ประกอบการทางธุรกิจเป็นอีกอาชีพหนึ่งในสังคม ที่ทําหน๎าที่หลักในการตอบสนองความ ต้องการของคนในสังคมให้มีสินค้าหรือบริการใช้ในการดํารงชีวิต ทั้งในลักษณะการผลิต การจัด จําหน่ายหรือการให้บริการต่าง ๆ
ผู้ประกอบการธุรกิจที่ดีควรมีคุณสมบัติที่มีความรับผิดชอบต่อการดําเนินงานที่ ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคด้วยความยุติธรรม ต้องมีจริยธรรมและจรรยาบรรณในการ ประกอบธุรกิจจึงจะทําให๎เป็นที่ยอมรับของสังคมและสามารถดําเนินกิจการไปได้อย่างมั่นคงการประกอบการ หมายถึง การจัดองค์กรหรือกิจการ เพื่อดําเนินการผลิต การ จําหน่าย และการให้บริการ โดยการนําเอาปัจจัยต่างๆ มาลงทุนในกิจการ ซึ่งได้แก่ ทรัพย์สิน แรงงาน และเงินทุน เพื่อให้เกิดผลผลิตตามเป้าหมายที่กําหนด [ความหมายโดย: ดํารงศักดิ์ ชัยสนิท ; 2549 : 2]คุณสมบัติของผู้ประกอบการในการประกอบธุรกิจให๎ประสบผลสําเร็จนั้น ผู้ประกอบการควรมีคุณสมบัติที่ดี คือ เป็นนักแสวงหาโอกาส กล้าได้กล้าเสีย มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ไม่ท้อถอยง่าย มีความอดทน ใฝ่หา ความรู้ และเป็นคนที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล
จรรยาบรรณของผู้ประกอบการ
ในการประกอบธรกิจ ผู้ประกอบการหรือนักธุรกิจควรมีจรรยาบรรณต่อบุคคลกลุ่ม
ต่างๆ ดังนี้ 
1. จรรยาบรรณต่อผู้ถือหุ้น2. จรรยาบรรณต่อลูกค้า3. จรรยาบรรณต่อคู่แข่งขัน4. จรรยาบรรณต่อพนักงาน5. จรรยาบรรณต่อรัฐบาล6. จรรยาบรรณต่อสังคม4. บทบาทและหน้าที่ขององค์กรธุรกิจ4.1 ความหมายขององค์กรธุรกิจ4.2 หน้าที่ขององค์กรธุรกิจ4.3 บทบาทขององค์กรธุรกิจ4.4 การจัดโครงสร๎างการบริหารงาน สาระสําคัญให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจ ความหมายขององค์กรธุรกิจ หน้าที่ขององค์กรธุรกิจ บทบาทขององค์กรธุรกิจ และการจัดโครงสร้างการบริหารงาน
องค์กรธุรกิจ หมายถึง กลุ่มคนซึ่งร่วมกันจัดทํากิจกรรมต่างๆ ทางธุรกิจเพื่อมุ่งหวังกําไร บทบาทหน้าที่ขององค์กรธุรกิจ มีดังนี้
1. ด้านองค์กรและการจัดการ2. ด้านการผลิตและการปฏิบัติ3. ด้านทรัพยากรมนุษย์4. ด้านการตลาด5. ด้านบริหารการเงิน6. ด้านระบบสารสนเทศการจัดโครงสร๎างการบริหารงาน การจัดโครงสร๎างการบริหารโดยแบ่งตามลักษณะการดําเนินงานหลักขององค์กรตาม
วัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้ เพื่อให้พนักงานได้ทราบและเข้าใจในลักษณะโครงสร้างขององค์กรที่ทํางาน อยู่ และให้ทุกหน่วยงานได้ทํางานประสานกัน ทางฝ่ายบริหารควรเขียนแผนภูมิแสดงหน้าที่ของงาน แผนกงานต่างๆ รวมถึงตําแหน่งของผู้บังคับบัญชาต่างๆ ในองค์กร
การดําเนินธุรกิจทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจอุตสาหกรรม ธุรกิจทางด้าน การเกษตร ธุรกิจการจัดจําหน่าย และธุรกิจเกี่ยวกับการบริการ ต่างมีบทบาทหน้าที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับผู้ประกอบการจะวางนโยบายการบริหารงานในทิศทางใด ธุรกิจย่อมเกี่ยวข้องกับสังคม ผู้บริโภค ชุมชน และการพัฒนาประเทศ ฉะนั้นการประกอบธุรกิจผู้ประกอบการจะมุ่งหวังเพียงเพื่อให้องค์กรมีกําไรเพียงอย่าง เดียวนั้น ไม่ใช่แนวคิดที่ถูกต้องนัก เพราะการทําธรกิจโดยมุ่งหวังกําไรอย่างเดียว โดยไม่ตระหนักถึง ผลที่สังคมจะได้รับ จะทําให้ธุรกิจนั้นไม่สามารถดําเนินการอยู่ในระบบได้อย่างยั่งยืน การจะประกอบ ธุรกิจให้ประสบความสําเร็จได้อย่างยั่งยืนนั้น ผู้ประกอบการควรคํานึงถึงผลที่เกิดแก่สังคมโดยรวมด้วย5. ปรัชญาและจริยธรรมในการประกอบธุรกิจ5.1 ความหมายของปรัชญาในการดําเนินธุรกิจ5.2 ความหมายของจริยธรรมในการประกอบธุรกิจ5.3 จริยธรรมของผู้ประกอบธุรกิจสาระสาคัญ
ปรัชญา หมายถึง ความคิดรวบยอดที่ใช้เป็นหลักในการดําเนินชีวิต ปรัชญาในการดําเนินธุรกิจ หมายถึงความคิดรวบยอดในการดําเนินธุรกิจอย่างมีเป้าหมาย ฉะนั้นการมีปรัชญาในการทําธุรกิจจึงเปรียบเสมือนเป็นแนวทางการดําเนินธุรกิจให้ประสบ ผลสําเร็จ
ความหมายของจริยธรรมในการประกอบธุรกิจ ผู้ประกอบการธุรกิจที่ดีควรมีคุณสมบัติที่มีความรับผิดชอบตํอการดําเนินงานที่ตอบสนองความต๎องการของผู้บริโภคด้วยความยุติธรรม ต้องมีจริยธรรมและจรรยาบรรณในการ ประกอบธุรกิจจึงจะทําให้เป็นที่ยอมรับของสังคมและสามารถดําเนินกิจการไปได้อย่างมั่นคง

จริยธรรมของผู้ประกอบธุรกิจ จริยธรรมที่มีต่อผู้บริโภคหรือตลาดเป้าหมาย จริยธรรมที่มีต่อคู่แข่งขันหรือผู้ประกอบการอื่น จริยธรรมต่อสังคม     จริยธรรมต่อสิ่งแวดล้อม จริยธรรมต่อพนักงาน6. แผนธุรกิจเบื้องต้น6.1 ความหมายของแผนธุรกิจ6.2 ความสําคัญของแผนธุรกิจ6.3 วัตถุประสงค์ของการจัดทําแผนธุรกิจ6.4 องค์ประกอบของแผนธุรกิจ6.5 หลักและวิธีการเขียนแผนธุรกิจ6.6 ลักษณะของแผนธุรกิจที่ดี 
สาระสาคัญให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจ ความหมายแผนธุรกิจ ความสําคัญของการจัดทําแผน ธุรกิจ วัตถุประสงค์ของการจัดทําแผนธุรกิจ องค์ประกอบแผนธุรกิจ หลักและวิธีการเขยนแผนธุรกิจ และลักษณะแผนธุรกิจที่ดีแผนธุรกิจ หมายถึง การกําหนดวัตถุประสงค์หรือเป้าหมาย เพื่อเป็นแนวทางการ ปฏิบัติสําหรับดําเนินการให้บรรลุเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ที่ต้องการความสําคัญของการจัดทําแผนธุรกิจ1. เป็นเครื่องมือควบคุมการปฏิบัติงาน2. เป็นแนวทางในการดําเนินธุรกิจไปสู้เป้าหมายที่ต้องการ3. เป็นแนวทางในการแสวงหาเงินทุนจากสถาบันการเงิน4. สามารถวัดผลสําเร็จได้ เมื่อดําเนินธุรกิจไปตามแผนธุรกิจทําให้ทราบว่าเกิดปัญหาหรือ ข้อผิดพลาดตรงไหน เพื่อนําไปปรับปรุงและแก้ไขต่อไปในอนาคต

วัตถุประสงค์ของการจัดทําแผน
การจัดทําแผนธุรกิจ ผู้ประกอบการต้องกําหนดให้ชัดเจนว่าการจัดทําธุรกิจนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่ออะไร ซึ่งมีหลักการที่สําคัญในการกําหนดวัตถุประสงค์ดังนี้
1. วัตถุประสงค์ต๎องเป็นไปได้2. คํานึงถึงทรัพยากรที่จะนําไปใช เนื่องจากมีอยู่อย่างจํากัด จึงต้องนําไปใช้ให้เกิดประโยชน์ สูงสุด
3. สามารถวัดได้ เช่น ใน 1 ไตรมาส สามารถจําหน่ายได้ 300,000 บาท4. ไม่ควรมีมากเกินไป เพราะทําให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดการสับสน5. ต๎องมีความยึดหยุ่น ปรับเปลี่ยนแผนให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป องค์ประกอบของแผนธุรกิจ1. บทสรุปผู้บริหาร2. ประวัติความเป็นมาของกิจการ3. การวิเคราะห์สถานการณ์ทางการตลาด4. วัตถุประสงค์และเป้าหมายทางธุรกิจ5. การวางแผนการตลาด6. การจัดโครงสร้างองค์การ7. แผนการผลิต8. แผนการเงิน9. แผนฉุกเฉิน  ลักษณะของแผนธุรกิจที่ดี1. ให้รายละเอียดเกี่ยวกับการเริ่มดําเนินธุรกิจ2. มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน3. ให๎รายละเอียดเกี่ยวกับการเงิน การตลาด การผลิตอย่างถูกต้อง ปฏิบัติได้ตาม วัตถุประสงค์7. กฎหมายและภาษีที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ7.1 การจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจ7.2 ความหมายของภาษีอากร7.3 ประเภทของภาษีธุรกิจ7.4 การคํานวณภาษีธุรกิจ7.5 กฎหมายที่เกี่ยวข๎องกับธุรกิจตามประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย์สาระสาคัญผู้ประกอบธุรกิจประเภทพาณิชยกิจ อาจเป็นกิจการเจ้าของคนเดียว ห้างหุ้นส่วนหรือ นิติบุคคลที่ต้องขึ้นตามกฎหมายไทย รวมถึงนิติบุคคลที่ตั้งขนตามกฎหมายต่างประเทศที่มีสํานักงาน สาขา ซึ่งประกอบกิจการอยู่ในประเทศไทย มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ..2499 กําหนดให้ต้องจดทะเบียน เจ้าของกิจการต้องยื่นขอจดทะเบียนพาณิชย์ภายใน 30 วันนับ แต่วันที่ได้เริ่มประกอบกิจการความหมายของภาษีอากรภาษีอากร คือ เงินที่รัฐบาลบังคับเก็บจากผู้บริโภค เพื่อนําไปใช้ในกิจการของรัฐบาล โดยไม่มีผลตอบแทนโดยตรงแก่ผู้เสียภาษีอากร หรืออกความหมาย คือ เงินได้หรือทรัพยากร ที่ เคลื่อนย้ายจากเอกชนไปสู่รัฐบาล แต่ไม่รวมถึงการกู้ยืมหรือขายสินค้า หรือให้บริการในราคาทุนโดย รัฐบาล วัตถุประสงค์ในการเก็บภาษี เพื่อหารายได้ให้พอกับค่าใช้จ่ายของรัฐบาล เพื่อการกระจาย รายได้ เพื่อควบคุมการบริโภคของประชาชน เพื่อการชําระหนี้สินของรัฐบาล หรือสนองนโยบายธุรกิจ และการคลังของรัฐบาล ประเภทภาษีอากร แบ่งเป็นภาษีอากรทางตรง และภาษีทางอ้อม ซึ่งกฎหมาย ที่ทางรัฐบาลใช๎ในการเรียกเก็บภาษี คือ ประมวลรัษฎากรประเภทของภาษีอากร- ภาษีสรรพากร ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพื่ม ภาษี ธุรกิจเฉพาะ และอากรสแตมป์- ภาษีสรรพาสามิต คือ ภาษีจากสินค้าและบริการบางรายการที่ผลิต ในประเทศ รวมทั้งนําเข้าจากต่างประเทศ เช่น สุรา ยาสูบ และสถานบริการ- ภาษีศุลกากร คือ ภาษีที่เก็บจากสินค้าที่นําเข้าและส่งออกจากต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันใช้คําว่า อากร
- ภาษีท้องถิ่น คือ ภาษีที่ราชการส่วนท้องถิ่นเรียกเก็บเพื่อนําไปพัฒนาท้องถิ่นนั้น ๆ เช่น ภาษี โรงเรือนที่ดิน และภาษีป้าย
การคำนวณภาษีธุรกิจ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในการดําเนินธุรกิจทุกประเภท ลักษณะ และทุกขนาด จะมีกฎหมายที่เข้ามา เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจอยู่หลายลักษณะแตกต่างกันไป แต่ในหน่วยนี้จะกล่าวเน้นเกี่ยวกับ กฎหมายที่เกี่ยวกับธุรกิจตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ อันเป็นกฎหมายหลักของผู้ประกอบ ธุรกิจที่ต้องเรียนรู้ โดยจะขอกล่าวถึง เรื่อง ซื้อขาย ขายฝาก การเช่าซื้อ การเช่าทรัพย์ การค้า ประกัน การจํานอง การจํานํา เพื่อผู้ประกอบการจะได้นําไปปฏิบัติเป็นหลักการพื้นฐานในการ ดําเนินธุรกิจ
8. การดําเนินธุรกิจตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง8.1 ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง8.2 องค์ประกอบเศรษฐกิจพอเพียง8.3 การประยุกต์หลักเศรษฐกิจพอเพียงสาระสาคัญให้ผู้เรียนมีความเข้าใจเรื่องความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง องค์ประกอบเศรษฐกิจ พอเพียง และการประยุกต์หลักเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง แนวทางการปฏิบัติงานของประชาชนทุกระดับ ตั้งแต่ ครอบครัว ชุมชน และประเทศ ให้ดําเนินไปในทางสายกลาง
องค์ประกอบเศรษฐกิจพอเพียงความพอเพียงมีองค์ประกอบ 3 ลักษณะดังนี้1. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ไม่มากเกินไปและไม่น้อยเกินไป เช่น การบริโภค ในระดับพอประมาณ2. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอประมาณจะต้องเป็นไปอย่าง มีเหตุผล โดยพิจาณาจากปัจจัยและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง3. การมีภูมิคุ้มกันที่ดี เพื่อเตรียมตัวพร้อมรับผลกระทบที่คาดวาจะเกิดของจากการ เปลี่ยนแปลงด้านต่างๆการประยุกต์หลักเศรษฐกิจพอเพียงกับการดำเนินธุรกิจเพื่อให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม ผู้ประกอบการควรตระหนักถึงความพอเพียง ความสมดุล ความพร้อมต่อ การเปลี่ยนแปลงในการทําธุรกิจและการดํารงชีวิต 
เศรษฐกิจพอเพียงกับการประกอบธุรกิจแต่ละประเทศจะมีการแบ่งหน้าที่จัดสรรทรัพยากร และผลตสินค้าเพื่อความกินดีอยู่ดี ของประชาชน จึงควรประกอบธุรกิจกับกลุ่มต่างๆ ดังนี้
1. กลุ่มผู้ประกอบการในชุมชน- ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเดียวกันรวมตัวกันเป็นเครือข่ายที่เอื้ออํานวยต่อกัน
- กลุ่มเกษตร ช่วยเหลือกันในเรื่องวัตถุดิบที่อาจซื้อขายด้วยการแลกเปลี่ยนในเรื่อง อุปกรณ์ และความรู้
- กลุ่มแปรรูปผลิตผลการเกษตร ช่วยเหลือกันในเรื่องของการหีบห่อ การจัดส่ง พัฒนา สินค้า
 2. ตลาดทําตลาดในท้องถิ่นและพื้นที่ใกล้เคียง ทําให้ลดต้นทุนด้านการขนส่ง ค่าจ้างแรงงาน บริหารสินค้าคงคลัง และลดแรงกดดันจากการแข่งขันกับคู่แข่งที่มีเงินทุนสูง
3. ภาคธุรกิจที่ต้องขายสินค้าและบริการให้ชุมชนอาจเป็นผู้จัดหาวัตถุดิบที่มีราคาถูกกว่า และคุณภาพ ดีกว่าให้กลุ่มผู้ประกอบการ
4. ภาครัฐหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลปกป้องสิทธิของประชาชน รวมถึงความปลอดภัยในชีวิตและ ทรัพย์สิน เป็นศูนย์กลางข่าวสารระหว่างชุมชนกับเอกชน ชุมชนกับหน่วยงานอื่นของรัฐ โดยเจ้าหน้าที่ รัฐต้องประพฤติตนเป็นแบบอย่างในการดําเนินชีวิตแบบพอเพียง